‘นกเขาเสื่อม’ สัมพันธ์กับอ้วนลงพุง ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ วิจัยพบ! กระทบต่อกระดูกพรุน ขาดวิตามินดี


ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนลงพุงและภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายอย่างแท้จริง


โดยแนวโน้มทางการแพทย์เชื่อว่า ถ้าผู้ชายประสบปัญหาด้วยโรคใดโรคหนึ่งมาก่อนในสามโรคที่กล่าวข้างต้นแล้ว เมื่อได้รับคำแนะนำและการรักษาอย่างถูกต้อง จะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่สัมพันธ์กันได้ โดยการดูแลสุขภาพให้ถูกต้อง ปรับวิถีทางการดำเนินชีวิต การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ในอดีต เมื่อผู้ชายประสบปัญหาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ จะไม่ค่อยกล้าไปพบแพทย์เนื่องจากมีความอายและคิดว่าไม่สำคัญต่อสุขภาพ

แต่โชคดีที่สังคมไทยในปัจจุบันมีผู้ชายซึ่งเข้าใจและยอมรับในการเข้ารับคำปรึกษาและรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากขึ้น เนื่องจากมีวิธีการรักษาหลายทางเลือก ยารักษาซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างมาก ตลอดจนผู้ป่วยจะได้รับการตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคซึ่งมีความสัมพันธ์กัน

จากเหตุผลข้างต้น ทำให้มีการวิจัยที่น่าสนใจและทำให้มีการประหลาดใจอยู่เรื่อยๆ ว่าโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีความสัมพันธ์กับโรคอื่นๆ อย่างมากมาย โดยยังไม่สามารถอธิบายกลไกของความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างเช่นสองงานวิจัยล่าสุดได้แสดงว่าผู้ชายซึ่งมีประวัติโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมีความเสี่ยงสูงของโรคกระดูกพรุน และภาวการณ์ขาดวิตามินดี

จากการศึกษาเรื่องแรกได้สรุปว่า โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสามารถพิจารณาเป็นคำทำนายการเป็นโรคกระดูกพรุนเริ่มแรกได้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในไต้หวันได้ใช้ฐานข้อมูลวิจัยการประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศไต้หวัน เปรียบเทียบผู้ชายจำนวน 4,460 คน ซึ่งมีอายุมากกว่า 40 ปี และถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศระหว่างปี พ.ศ. 2539-2553 กับกลุ่มผู้ชายซึ่งถูกสุ่มมาโดยมีอายุเท่ากันและไม่มีโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศจำนวน 17,480 คน

ระหว่างการติดตามการรักษา พบมีโรคกระดูกพรุนใหม่ 264 ราย (5.92%) ในผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และ 651 ราย (3.65%) ในคนที่ไม่มีโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

อุบัติการณ์ทั้งหมดของโรคกระดูกพรุนสูงเป็น เท่าในกลุ่มโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศมากกว่ากลุ่มซึ่งไม่มีโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศคือ 9.74 และ 2.47 ต่อประชากร 1,000 คนต่อปี

หลังจากคำนวณควบคุมตัวแปรต่างๆ ตามลำดับ ดูเหมือนว่าโรคกระดูกพรุนเกิดมากเป็น เท่าในโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศซึ่งไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากจิตใจหรือโรคทางร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มซึ่งไม่มีโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความเสี่ยงของโรคแปรผันตามอายุ โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศอายุระหว่าง 40-59 ปี มีความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนสูงเป็น 3.6 เท่า และอายุเท่ากับหรือมากกว่า 60 ปี มีความเสี่ยงสูง 3.5 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มซึ่งไม่มีโรค

ผู้วิจัยได้ให้ความเห็นว่า เนื่องจากการประเมินวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนทำได้ง่ายและไม่มีความรุนแรง ผู้ป่วยโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศควรได้รับการตรวจมวลกระดูกเพื่อหาว่ามีโรคกระดูกอ่อนหรือพรุนหรือไม่ ในทางตรงกันข้าม ผู้ชายซึ่งมีโรคกระดูกพรุนควรได้รับตรวจหาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วยเช่นกัน

ที่มาศ.น.ท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ ม.มหิดล

ความคิดเห็น